นิยามอาชีพ | ||
ผู้ปฏิบัติงานพนักงานบัญชี-Accountants ทำงานเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมรายการรายรับ และรายจ่ายของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จัดทำเป็นรายงานตามระบบ และระเบียบของการทำบัญชี จัดทำบัญชีด้วยตนเองหรือร่วมทำงานกับผู้อื่น กำกับดูแลการทำงานบัญชีของเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบความถูกต้อง และนำเสนอผู้มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามลำดับ อาจทำงบดุลประจำปี อาจทำหน้าที่ในการรับ และการจ่ายเงินตามที่ได้รับมอบหมาย | ||
ลักษณะของงานที่ทำ | ||
พนักงานบัญชี ทำงานบันทึกข้อมูลการเงินขององค์การอย่างสมบูรณ์ตามระบบของการบัญชี และเป็นระเบียบแบบแผน เช่น บัญชีรายรับ หรือบัญชีรายจ่าย เป็นต้น ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร และบันทึกเกี่ยวกับการจ่ายเงิน การรับเงินและธุรกิจการเงินอื่นๆ และลงบัญชีแยกประเภทตรวจสอบการลงบัญชี ทำการคำนวณ และรวมยอดเงินเท่าที่จำเป็น ทำงบดุล และรวบรวมรายงานการเงินตามระยะเวลาที่กำหนดเป็นประจำ เพื่อแสดงรายรับรายจ่าย บัญชีรายรับและรายจ่าย กำไรหรือขาดทุน และเรื่องราวเกี่ยวกับการเงินอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่กำลังดำเนินงานอยู่ คำนวณและจ่ายเงินค่าจ้าง ทำรายงานแสดงฐานะทางการเงิน ทำรายงานแสดงฐานะทางการบัญชีให้แก่ลูกค้า และปฏิบัติงานต่างๆ เกี่ยวกับการทำบัญชีทำบันทึกการเงินโดยใช้ เครื่องทำบัญชี ตรวจสอบการลงบัญชี ี้ รวบรวมรายงานเสนอตามระยะที่กำหนดเป็นประจำ ปิดงบการเงินประจำเดือน ทำหน้าที่ให้บริการทางการบัญชีแก่สถานประกอบการธุรกิจ บุคคล สถาบันเอกชน หรือหน่วยงานรัฐบาล รวมถึงการควบคุมดูแลการทำบัญชี และการตรวจสอบบัญชี การตรวจสอบ การรับรองความถูกต้อง และความครบถ้วนในการทำบัญชีและเอกสารทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่าย จัดเตรียมงบทดลอง บันทึกรายการรับจ่ายประจำวัน จัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มซื้อ และขายพร้อมทั้งเอกสารประกอบเพื่อนำเสนอกรมสรรพากร ทุกเดือน จัดทำรายงานภาษีเงินได้ของบริษัทเพื่อนำเสนอกรมสรรพากรทุกสิ้นปี | ||
สภาพการจ้างงาน | ||
ในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ จะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา ส่วนในภาคเอกชน จะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทหรือองค์กรที่จ้างงานพนักงานบัญชี ซึ่งไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอนตายตัว ค่าจ้างที่ได้รับโดยเฉลี่ยมีดังนี้ วุฒิการศึกษา เงินเดือน ราชการ เอกชน ปวส. 5,600 6,000 ปริญญาตรี 6,500 9,500 | ||
สภาพการทำงาน | ||
พนักงานบัญชีทำงานในสถานที่ทำงานที่มีสภาพการทำงานเป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป ในการทำงานจะต้องใช้เครื่องคิดเลขหรืออาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ช่วยงานบันทึกรายการ และการทำบัญชีในรูปต่างๆ | ||
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ | ||
ผู้ประกอบพนักงานบัญชี-Accountantsต้องมีคุณสมบัติดังนี้ - ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชี บริหารธุรกิจ หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยรับรอง - มีความซื่อสัตย์ในหน้าที่เนื่องจากทำงานเกี่ยวกับการเงิน - มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ ในการนำเสนอข้อมูลทางบัญชีที่เชื่อถือได้ถูกต้องรวดเร็ว และ มีประโยชน์อย่างแท้จริงในการตัดสินใจ - มีความรอบคอบ วิจารณญาณ เพื่อพิจารณาหาหลักปฏิบัติที่เหมาะสม และส่งผลกระทบ ในด้านลบให้น้อยที่สุดแก่หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง - รับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง และให้ความร่วมมือในการพัฒนาวิชาชีพ และสังคม - สามารถใช้คอมพิวเตอร์ มีประสบการณ์ในด้านโปรแกรม software บัญชี มีความรู้ภาษาอังกฤษ ตามสมควร มีความรู้ระบบภาษีของไทย ผู้ที่จะประกอบพนักงานบัญชี-Accountantsควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชี บริหารธุรกิจหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย และสำหรับพนักงานบัญชี ที่ทำหน้าที่ผู้ทำบัญชีในสถานประกอบการที่จดทะเบียนการค้า ต้องเข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกรอบ 3 ปี จากสถาบันวิชาชีพบัญชีหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้าให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่อธิบดีฯประกาศกำหนด | ||
โอกาสในการมีงานทำ | ||
ในการดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่จะต้องมีพนักงานบัญชีทำงานด้านบัญชี ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจได้เจริญก้าวหน้าและขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า อาชีพพนักงานบัญชียัง คงเป็นที่ต้องการทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือธุรกิจส่วนตัว ผู้สำเร็จการศึกษาทางด้านบัญชีสามารถที่จะประกอบอาชีพในหน่วยงานต่างๆ ได้หลายแห่งทั้งที่เป็นหน่วยงานของราชการ และเอกชน นอกจากนี้ยังสามารถที่จะรับงานบัญชีไปทำที่บ้านได้ และเมื่อพนักงานบัญชีทำงานจนมีความพร้อมและมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (กบช.) กำหนดไว้ก็มีสิทธิที่จะสอบเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตได้ | ||
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ | ||
พนักงานบัญชีที่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับงานบัญชี และมีประสบการณ์สามารถที่จะสอบเป็น ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต สามารถที่จะรับงานตรวจสอบบัญชีเป็นอาชีพอิสสระได้ หรือพนักงานบัญชีที่มีความสามารถในงานบริหารจัดการ สามารถที่จะเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ทำบัญชี สมุห์บัญชี ผู้ตรวจสอบภายในองค์กรนั้นได้ | ||
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง | ||
นอกจากจะทำงานในด้านบัญชีโดยตรงแล้ว พนักงานบัญชียังอาจทำงานอย่างอื่นๆ ที่สอดคล้องกับวิชาชีพที่เรียนมา เช่น ทำงานในหน้าที่เกี่ยวกับงบประมาณการเงิน งานธนาคาร บริษัทประกันภัย ประกอบอาชีพอิสระโดยเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต หรือเป็นอาจารย์สอนบัญชีในวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยต่างๆสำหรับผู้ที่ศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไปหรือผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมามาก เป็นต้น ประวัติส่วนตัว
1.ด.ญ.ณัฐฐิชา ชูเพ็ง
2.อายุ 143.ชื่อเล่น ตอย
4.เกิดวันที่ วันอาทิตย์ 5 พฤศจิกายน 2543 5.ครอบครัวมีอยู่ 4 คน พ่อ แม่ พี่ หนู 6.พ่อทำงาน รับจ้างทั่วไป แม่ทำงาน แม่บ้าน 7.ที่อยู่ 46/30 เเขวงบางค้อ เขตจอมทอง จ.กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์10150
8.สีที่ชอบ ส้ม-ฟ้า
9.กีฬาที่ชอบ แบตมินตัน 10.ชอบกิน กะเพราหมู 11.วิชาที่ชอบ พละศึกษา 12.อนาคตอยากเป็น พนักงานบัญชี 13.งานอดิเรก ฟังเพลง 14.สิ่งที่อยากทำให้พ่อแม่ อยากให้พ่อแม่มีความสุข 15.คติประจำใจ ทำทุกสิ่งให้ดีที่สุด |
ความเป็นมา
การเก็บและสำรวจพรรณไม้ของประเทศไทยเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2449 หลังจากตั้งกรมป่าไม้ได้ 10 ปี โดยมีนาย H. B. G. Garrett นักการป่าไม้ชาวอังกฤษเป็นผู้รับผิดชอบ ต่อมาเริ่มมีเจ้าหน้าที่ของหอพรรณไม้ ออกทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างร่วมด้วย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2473 หอพรรณไม้ได้จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเพื่อเก็บรักษาตัวอย่างพรรณไม้ที่ได้จากการสำรวจ จนถึงปัจจุบันมีจำนวนตัวอย่างพรรณไม้กว่า 200,000 ชิ้น ซึ่งมากที่สุดในประเทศไทย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 มีการปรับโครงสร้างราชการ ทำให้งานกลุ่มพฤกษศาสตร์ป่าไม้โอนย้ายมาอยู่ในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตามการแบ่งส่วนราชการใหม่ และได้รับการปรับสถานะจากกลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ เป็นสำนักหอพรรณไม้ ตามคำสั่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงวันที่ 22 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 และในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานหอพรรณไม้ ภายใต้สังกัดสำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2550
ด้วยสำนักงานหอพรรณไม้ เป็นหอพรรณไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีสวนพฤกษศาสตร์และสวนรุกขชาติในสังกัดอีก 71 แห่ง มีหน้าที่สำรวจและเก็บรวบรวมพรรณไม้ในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ ไว้ในรูปแบบต่างๆ อย่างเป็นระบบสากล เช่น พรรณไม้แห้ง พรรณไม้ดอง พรรณไม้ต้นแบบ และตัวอย่างส่วนต่างๆ ของพรรณไม้ พร้อมจัดทำฐานข้อมูลไว้สืบค้น เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านพรรณพืชทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นหน่วยงานที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การศึกษาวิจัย บริการวิชาการ และนันทนาการ จึงได้รับการคัดเลือกให้เป็นหน่วยงานดีเด่นของชาติ สาขาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำพุทธศักราช 2550 โดยคณะอนุกรรมการคัดเลือกและเผยแพร่ผลงานดีเด่นของชาติ ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2555 ในส่วนของตัวหอพรรณไม้ (herbarium) ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ รุ่นที่ 2 ของสำนักเลขาธิการสภาการศึกษา
การดำเนินงานสำนักงานหอพรรณไม้
- จัดการตัวอย่างพรรณไม้ (specimens) ตามหลักการและมาตรฐานการจัดการหอพรรณไม้สากล บริการให้ยืมตัวอย่างเพื่อการศึกษาวิจัยด้านอนุกรมวิธานพืช และแลกเปลี่ยนตัวอย่างกับหอพรรณไม้หลัก ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- สำรวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้ทั่วประเทศ เพื่อการศึกษาวิจัยด้านอนุกรมวิธานพืช ทั้งพืชชั้นสูงและพืชชั้นต่ำ รวมถึงการศึกษาการใช้ประโยชน์พืช และพืชสมุนไพร
- จัดการห้องสมุดให้เป็นห้องสมุดพฤกษศาสตร์ รวบรวมหนังสือ วารสาร บทความและเอกสารวิชาการด้านพฤกษศาสตร์ เปิดให้บริการให้นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา นักเรียน และประชาชนที่สนใจ
- ดำเนินการสวนพฤกษศาสตร์และสวนรุกขชาติตามภูมิภาคต่างๆ ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อรวบรวมพันธุ์ไม้สำหรับการศึกษาวิจัย เป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชน ผู้สนใจทั่วไป และเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ (อนึ่ง งานสวนรุกขชาติได้ถูกโอนให้ไปอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของส่วนพัฒนาแ ละเผยแพร่องค์ความรู้ในปี พ.ศ. 2555)
- บริการและเผยแพร่ข้อมูล งานวิจัยด้านพฤกษศาสตร์ ในรูปวารสาร Thai Forest Bulletin (Botany)
- ดำเนินโครงการศึกษาพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย (Flora of Thailand Project) เพื่อจัดทำหนังสือ Flora of Thailand เพื่อเป็นคู่มือในการจำแนกพืชในประเทศไทย
- จัดทำฐานข้อมูลพืช และให้บริการสืบค้นผ่านระบบ Internet
หน่วยงานในสังกัดสำนักงานหอพรรณไม้แยกตามภาระกิจหลัก และแบ่งออกเป็น 6 หน่วยงานย่อย ได้แก่
- ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
- ฝ่ายอนุกรมวิธานพืช
- ฝ่ายจัดการตัวอย่างพรรณไม้และฐานข้อมูล
- ฝ่ายพืชสมุนไพรและพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน
- ฝ่ายการจัดการสวนพฤกษศาสตร์และสวนรวมพันธุ์ไม้ป่า
- ฝ่ายเทคโนโลยี่และสารสนเทศด้านพฤกษศาสตร์ป่าไม้
วิสัยทัศน์ของหน่วยงาน
“วิจัยพรรณไม้ไทยสู่ความเป็นเลิศ หอพรรณไม้และฐานข้อมูลได้มาตรฐาน บริหารจัดการสวนพฤกษศาสตร์และสวนรุกขชาติเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต”
เกี่ยวกับเวปไซต์สำนักงานหอพรรณไม้
เวปไซต์สำนักงานหอพรรณไม้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปึ พ.ศ. 2543 โดยใช้ภาษาอังกฤษ ภายใต้กลุ่มพฤกษศาสตร์ป่าไม้ และเป็นโฮมเพจภายใต้เวปไซต์ของกรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในเดือนพฤศจิกายน 2548 กลุ่มพฤกษศาสตร์ป่าไม้ได้รับการปรับสถานะเป็นสำนักหอพรรณไม้ และเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานหอพรรณไม้ในเวลาต่อมา เวปไซต์สำนักสำนักงานหอพรรณไม้จึงได้รับการปรับปรุง โดยแยกเป็นส่วนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และเริ่มใช้ระบบฐานขัอมูลมาใช้มากขึ้น การปรับปรุงครั้งล่าสุด ออกแบบโดยปรีชา การะเกตุ และราชันย์ ภู่มา เริ่มออนไลน์เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2552
มีข้อติชมและข้อเสนอแนะ ระบบฐานข้อมูล ข้อมูลพืช และโฮมเพจ กรุณาส่งมาที่
นายราชันย์ ภู่มา
หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
โทร/แฟกซ์: 02 5610777 ต่อ 1476 หรือ 02 579666 ต่อ 1476
email: rpooma@dnp.go.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น